อาชีพ Civil Engineer (วิศวกรโยธา)
หน้าที่ของ Civil Engineer
1. วางแผนและออกแบบโครงสร้าง
วิศวกรโยธา จะออกแบบโครงสร้างต่างๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อให้โครงสร้างมีความปลอดภัย, ทนทาน, และเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องใช้ทักษะวิเคราะห์ ในการคำนวณและออกแบบโครงสร้างเพื่อให้มีประสิทธิภาพและคงทน
2. การประเมินและการวิเคราะห์โครงสร้าง
3. การจัดการโครงการ
4. การเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
5. ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
6. ควบคุมคุณภาพ
7. ควบคุมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรโยธาต้องออกแบบโครงสร้าง เพื่อให้มีความยั่งยืนและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น วิศวกรโยธา ที่รับผิดชอบในการออกแบบระบบน้ำประปาและระบบน้ำเสีย จะต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมมลพิษและการประหยัดทรัพยากรด้วย
8. สร้างและบำรุงรักษาโครงสร้าง
หน้าที่หลัก คือก่อสร้างโครงสร้างตามแบบแผน ดูแลและบำรุงรักษาโครงสร้างที่มีอยู่ เพื่อให้รักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของโครงสร้าง
9. การทำงานเป็นทีม
งานของวิศวกรโยธาต้องทำงานร่วมกับอาชีพอื่นอยู่บ่อยครั้ง เช่น สถาปนิก, วิศวกรเครื่องกล, คนงานก่อสร้าง และตำแหน่งงานอื่นๆ เพื่อให้โครงสร้างสมบูรณ์ การทำงานเป็นทีมได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้งานบรรลุเป้าหมาย
10. ความปลอดภัย
วิศวกรโยธาต้องมีความรับผิดชอบและความรอบรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและการควบคุมคุณภาพ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของโครงสร้างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการเสี่ยงต่อสถานที่และประชาชน
เรียนวิศวกรโยธา ทำงานตำแหน่งใดได้บ้าง
วิศวกรโยธา คือ ผู้ที่รับผิดชอบในการวางแผนและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นจึงสามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น
- โฟร์แมน
- ผู้ช่วยวิศวกร
- ช่างโยธา / ช่างสำรวจ
- นักออกแบบ / เขียนแบบ / ประมาณราคางานก่อสร้าง
- ผู้รับเหมางานก่อสร้าง
- ผู้จัดการ ผู้ประสานงานโครงการก่อสร้าง
- ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง
เรียนวิศวกรโยธา ทำงานที่ไหนได้บ้าง
ภาครัฐ
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงมหาดไทย
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- กรมทางหลวง
- กรมที่ดิน
- กรมทางหลวงชนบท
- กรมชลประทาน
- กรมทรัพยากรน้ำ
- หน่วยงานในส่วนการปกครองท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การไฟฟ้านครหลวง
- การประปา
- ปตท.
ภาคเอกชน
- บริษัทรับเหมาก่อสร้าง
- บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบ
- บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์